พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนจากธรรมชาติที่หลายคนหันมาให้ความสนใจในปัจจุบัน เราสามารถเห็นครัวเรือนทั่วไปหรือแม้แต่อาคารสำนักงานต่างๆ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ ที่เริ่มได้รับความนิยมขึ้นในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยของเราด้วยเช่นกัน
โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ เป็นไฟส่องสว่างที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสาธารณะ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ต้องเดินทางในเวลากลางคืน การเปิดไฟถนนต้องเปิดเพื่อให้ความสว่างตลอดคืนจนเกิดความสิ้นเปลืองมาก หรืออาจทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟสั้นลง ไฟถนนโซล่าเซลล์จึงเข้ามามีบทบาทและเป็นตัวเลือกใหม่ของการติดตั้งไฟถนน และนี่ก็คือ 5 ประโยชน์ของไฟถนนโซล่าเซลล์- ประหยัดเงินค่าไฟฟ้า ลดภาระรายจ่าย เพราะโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานฟรีจากธรรมชาติ
- โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ช่วยลดรายจ่ายการเดินสายไฟ ระบบไฟ และลดรายจ่ายในการจ้างงานช่างซ่อมบำรุง
- สะดวกกว่าเพราะโคมไฟถนนโซล่าเซลล์สามารถเปิด–ปิดแบบอัตโนมัติได้
- โคมไฟถนนโซล่าเซลล์มีความปลอดภัยสูงกว่าหลอดไฟทั่วไป
- อายุการใช้งานของโคมไฟถนนโซล่าเซลล์ยาวนานกว่าไฟถนนแบบธรรมดา
ส่วนการติดตั้ง โคมไฟโซล่าเซลล์ !!
สิ่งที่คุณควรจะพิจารณาก่อนที่จะทำการติดตั้งโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อที่จะช่วยให้คุณนั้นสามารถที่จะทำการติดตั้งและใช้งานโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์หรือโคมไฟโซล่าเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด
1.ทิศทางในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นในโคมไฟโซล่าเซลล์ที่มีแผงโซล่าเซลล์แยกออกมาจากตัวของโคมไฟ จะช่วยให้คุณสามารถที่จะทำการเลือกทิศทางในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้อย่างสะดวกสบายมากกว่าแบบที่มีแผงโซล่าเซลล์ติดอยู่บนโคมไฟเลยซึ่งทำให้คุณติดตั้งได้ยากกว่าโดยทิศทางที่เหมาะสมที่สุดในการที่จะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้รับแสงแดดได้สูงสุด2. ช่วงเวลาในการรับแสง
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการรับแสงของแผงโซล่าเซลล์งั้นก็คือช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 09:00 น ไปจนถึงเวลา 15:00 น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเข้มของแสงสูงแผงโซล่าเซลล์สามารถที่จะทำการเปลี่ยนจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่มากที่สุด3.องศาหรือความลาดชันในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
หลักการคือการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้มีองศาหรือความชันที่สามารถรับแสงโซล่าเซลล์ได้ดีที่สุดโดยจะ ที่จะทำให้แผงโซล่าเซลล์นั้นตั้งฉากกับแนวดวงอาทิตย์มากที่สุดซึ่งจะทำให้แผงโซล่าเซลล์สามารถที่จะรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อที่จะมาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยทั่วไปแล้วจะนิยมติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มุมประมาณ 45 องศากับพื้นดิน4. การดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์
ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงความสะดวกในการที่จะดูแลแผงโซล่าเซลล์เพราะว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์อยู่เป็นประจำอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งด้วยการใช้น้ำสะอาดและผ้าชุบน้ำเช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่บนแผงโซล่าเซลล์เพื่อช่วยให้แผงโซล่าสามารถที่จะทำการรับแสงได้อย่างเต็มที่ หากบริเวณแผงโซล่าเซลล์เสียหรือชำรุดก็สามารถซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องรื้อสายไฟทั้งระบบ และอีกสิ่งนึงที่ควรคำนึงถึง ยี่ห้อหรือรุ่นของโคมไฟโซล่าเซลล์ ซึ่งควรเลือกซื้อ โคมไฟโซล่าที่มีคุณภาพสูง เพื่อความคุ้มค่ากับเงินที่คุณจ่ายไป ซึ่งทางเรา INFINITE LED มีโคมไฟโซล่าเซลล์คุณภาพสูง ให้คุณได้เลือกซื้อ หากคุณสนใจ โคมไฟถนนโซล่าเซลล์ คุณภาพสูง ผลิตมาเพื่องานโปรเจค งานโครงการ อยากเปลี่ยนไปใช้หลอด LED เรายินดีให้คำปรึกษาฟรี Tel: 062-445-5195, LINE : kckavin www.ledinfinite.comแถมอีกนิดนึง ถึงเคล็ดลับการดูแลรักษาโคมไฟโซล่าเซลล์ !!
- รักษาความสะอาดอยู่เสมอ หมั่นดูแลรักษาความสะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคราบกาว น้ำมัน แมลงหรือฝุ่นละออง อย่าปล่อยให้อยู่บนแผงนานเกินไป เพราะอาจมีผลต่อการชาร์จไฟหรือการไหลเวียนของไฟฟ้า ทำให้ไฟอาจส่องสว่างได้ไม่เต็มที่หรืออย่างร้ายแรงคือวงจรภายในอาจจะเสียหายได้
- ตรวจสอบโคมไฟอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณที่มีอุปกรณ์ยึดติด ต้องขันให้แน่นอยู่ตลอดเวลา สายไฟต้องไม่มีการชำรุดฉีกขาด ส่วนตรงแผงกระจกต้องไม่มีรอยแตกร้าว
- ติดตั้งในบริเวณที่เหมาะสม บริเวณที่ติดตั้งโคมไฟ ต้องปลอดจากสัตว์บางชนิดที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับโคมไฟได้ เช่น สุนัข หนู เป็นต้น เพราะมีโอกาสที่จะไปกัดแผงหรือสายไฟได้ ที่สำคัญแผงโซล่าควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ปลอดโปร่ง ไม่มีฝุ่นละออง จะได้รับแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่ แผงจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพลังงานมากเพียงพอที่จะส่องแสงในเวลากลางคืน
- อย่าใช้น้ำยาที่มีฤทธิ์รุนแรงในการทำความสะอาด การทำความสะอาดนั้นควรใช้แค่ผ้าชุบน้ำเปล่าก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคราบนั้นฝังแน่นจนเช็ดไม่ออกจริง ๆ ก่อนจะใช้น้ำยาอะไรให้ตรวจสอบคุณสมบัติอย่างละเอียดก่อน ไม่อย่างนั้นน้ำยานั้นอาจสร้างความเสียหายให้กับแผงโซล่าได้
ให้คะแนนบทความของเรา !
[Total: 0 Average: 0]